Background



* ประวัติตำบล
สถานที่ท่องเที่ยวในตำบลยะรัง
16 ธันวาคม 2559

0


 เป็นเมืองที่มีความเจริญ ในช่วงปี พ.ศ. ๗๐๐ - ๑๔๐๐ ทิศเหนือติดต่อเมืองสงขลา และพัทลุง ทิศใต้แผ่ไปจนสุดแหลมมลายู ทิศตะวันตกและทิศตะวันออกจรดชายฝั่งทะเลทั้งสองฝั่ง มีซากโบราณสถานและโบราณวัตถุสมัยศรีวิชัยและทวราวดี เมืองโบราณยะรังเป็นชุมชนที่มีความสำคัญทางด้านประวัติศาสตร์ และโบราณคดีเป็นอย่างมาก อาจมีความสัมพันธ์กับอาณาจักร "ลังกาสุกะ" ซึ่งเป็นอาณาจักรที่เก่าแก่ที่สุดอาณาจักรหนึ่งบนคาบสมุทรมลายู มีหลักฐานอยู่ในเอกสารจีน อาหรับ ชวา และมลายู ในราวพุทธศตวรรษที่ ๑๓ 

     สันนิษฐานว่าน่าจะมีศูนย์กลางอยู่ในบริเวณจังหวัดปัตตานีในปัจจุบัน และอาจมีอิทธิพลคลุมไปถึงรัฐไทรบุรี ของสหพันธรัฐมาเลเซียด้วย อีกทั้งจะต้องเป็นเมืองท่าที่สำคัญ ตั้งอยู่ใกล้ทะเล และเป็นดินแดนที่มีความมั่นคง มีบทบาททางการเมือง ทางเศรษฐกิจ เกี่ยวข้องกับดินแดนใกล้เคียงอยู่เสมอและได้ทำการติดต่อค้าขายกับชาวต่าง ประเทศอย่างกว้างขวาง มาตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ ๑๒ 

ลักษณะทั่วไป   
     มีลักษณะผังเมืองเป็นรูปสี่เหลี่ยมคางหมู ขนาดประมาณ ๕๐๐ X ๕๕๐ เมตร มีคูน้ำ ดันดินล้อมรอบทั้งสี่ด้านและที่ป้องทั้งสี่มุม และมีคูน้ำขุดล้อมต่อลงมาเป็นรูปสี่เหลี่ยมของเมืองขยายทางทิศใต้ คือเมืองโบราณบ้านจาและ 

หลักฐานที่พบ 

จากการขุดแต่งพบโบราณวัตถุหลายประเภท ได้แก่

๑. สถูปจำลองดินดิบ ดินเผาจำนวนมาก ประกอบด้วยประติมากรรมนูนต่ำ รูปท้าวกูเวระ พระพุทธเจ้าประทับนั่งขนาบด้วยสถูปจำลองทั้งสองข้าง
๒. พระพิมพ์ดินเผาและพระพิมพ์ดินดิบรูปแบบต่าง ๆ เช่น
๒.๑ พระพิมพ์ดินดิบ รูปสถูปเดี่ยว แบบสาญจี(โอคว่ำ) ด้านล่างมีจารึกคาถาเยธัมมา
๒.๒ พระพิมพ์ดินดิบ รูปสถูปจำลอง ฐานสูง ๓ องค์เรียงกันด้านล่างมีจารึกคาถาเยธัมมา
๒.๓ พระพิมพ์ดินดิบ รูปพระพุทธเจ้าประทับยืนในท่าติกังก์ และทางวิตรรกะมุตรา
๓. เศษภาชนะดินเผา เครื่องถ้วยเปอร์เซียเคลือบสีฟ้าอมเขียว
๔. เศษภาชนะดินเผา เครื่องถ้วยเซลาคอน สีเขียวมะกอก โบราณวัตถุเหล่านี้เปรียบเทียบรูปแบบทางศิลปะร่วมสมัยศิลปทวาราวดี ทางภาคกลางของประเทศไทย ซึ่งกำหนดอายุในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๙ – ๑๑

เส้นทางเข้าสู่เมืองโบราณยะรัง 
จากตัวเมืองปัตตานี ไปทางทิศใต้ตามถนนสายปัตตานี - ยะลา ประมาณ กิโลเมตร ถึงอำเภอยะรัง เลี้ยวซ้ายสู่เมืองโบราณ ระยะทาง ๑.๕ กิโลเมตร